แดดแรงๆ กำจัดเชื้อโควิดได้ไหม?

แดดแรงๆ กำจัดเชื้อโควิดได้ไหม?

2 ปี ที่แล้ว

 

                      การป้องกันตัวเองจากเชื้อโควิด นอกจากต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยและล้างมือตลอดเวลาแล้ว อีกอย่างหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญไม่แพ้กันก็คือการทำความสะอาดเสื้อผ้าของเราหลังจากที่ใส่ตอนออกไปข้างนอกบ้าน เพราะเชื้อโรคและแบคทีเรียสามารถเกาะติดมากับเนื้อผ้า และอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อตัวเราและครอบครัวได้ ซึ่งถ้าหากทำความสะอาดได้ไม่ดีพอ อาจทำให้เชื้อโรคและแบคทีเรียยังคงเกาะติดอยู่กับเสื้อผ้า แล้วควรทำอย่างไรให้เสื้อผ้าเรากลับมาสะอาดปราศจากเชื้อโรค และสวมใส่ทุกครั้งได้อย่างมั่นใจ

 

                      หลายคนคงคิดว่าหลังซักเสื้อผ้าเสร็จตากด้วยแสงแดดแรงๆ ก็น่าจะช่วยฆ่าเชื้อโรคและแบคทีเรีย รวมถึงเชื้อโควิด ได้ใช่ไหม? ซึ่งนั่นเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะว่าเชื้อโควิด ไม่สามารถถูกฆ่าได้จากการตากแดด หรืออยู่ในสภาวะอากาศร้อนได้ทั้งหมด เพราะงั้นการเลือกที่จะตากเสื้อผ้าเอาไว้กลางแดดหลังซักผ้าเสร็จ ก็อาจไม่ใช่วิธีฆ่าเชื้อโควิด ที่ดีที่สุด โดยเพื่อนๆ สามารถเลือกใช้น้ำร้อนที่อุณหภูมิตั้งแต่ 60 องศาเซลเซียสขึ้นไป ในการฆ่าเชื้อโรคได้ แต่อาจไม่เหมาะกับเนื้อผ้าทุกประเภท หรือมีอีกวิธีคือหันมาเลือกใช้ผงซักฟอกที่ได้รับการรับรองว่า “สามารถฆ่าเชื้อโควิดได้จริง”

 

 

 

                      เปา ซิลเวอร์ นาโน ผ่านการพิสูจน์แล้วจากประเทศญี่ปุ่นว่าสามารถฆ่าเชื้อไวรัส COVID-19 ได้มากถึง 99.99%* ด้วยกลไลการฆ่าเชื้อไวรัส ปัจจัยหนึ่ง คือ ความเป็นกรด-ด่าง ของผลิตภัณฑ์ซักผ้า เพราะเชื้อไวรัสกลุ่มโคโรนาล้อมรอบไปด้วย ไขมันและโปรตีน ซึ่งเป็นเกราะป้องกันไวรัส มีชีวิตอยู่ได้ในค่า pH ที่เป็นกรดเล็กน้อย (pH 6-6.5) มากกว่าค่า pH ที่เป็นด่าง (pH 8 ขึ้นไป) ดังนั้นผงซักฟอก เปา ซิลเวอร์ นาโน มีค่า pH ที่ประมาณ 10-10.5 (องค์ประกอบของสารทั้งสูตรผงซักฟอก) และมีสารประกอบทำความสะอาดที่มีฤทธิ์เป็นด่าง เมื่อเจอสารทำความสะอาด ไขมันเหล่านี้ จะแยกออก เมื่อเกราะแตก ไวรัสก็ไม่รอด** พร้อมมีเทคโนโลยีซิลเวอร์ นาโน ยับยั้งแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของกลิ่นอับของเสื้อผ้า ให้เสื้อผ้าของคุณสะอาดแบบมีอนามัย กลับมาสวมใส่มั่นใจ ลดเสี่ยงพร้อมลดกลิ่นอับได้แบบอยู่หมัด ต้องมีติดบ้าน !

 

*ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ได้มากกว่า 99.99% จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการของหน่วยงานทดสอบในประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือน ธันวาคม 2563 และผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S.aureus, K.pneumoniae และ E.coli ได้ 99.9% ในห้องปฏิบัติการของหน่วยงานทดสอบในประเทศไทย เมื่อเดือน กันยายน 2563

**การทำลายเชื้อไวรัส อ้างอิงจาก ผู้เรียบเรียง : ประเสริฐ เอื้อวรากูล (ศูนย์ข้อมูลโรคติดเชื้อและพาหะนำโรค) สิ่งตีพิมพ์จาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

ขอบคุณที่มาของข้อมูล :

https://bit.ly/3BNbYTT

https://siamrath.co.th/n/247557